วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2556

บารากุ คือ อะไร

"บารากุ" คือ ยาสูบที่นำมาใช้กับอุปกรณ์ที่ใช้เสพที่มีชื่อเรียกว่า ฮุคคา hookah อุปกรณ์นี้มีชื่อเรียกที่ต่างกันหลายภาษาเช่น water pipe , narghile,shisha, hubble-bubble เป้นต้น ประเทศไทยเรียกว่าเตาบารากู่ การสูบยาสูบโดยใช้อุปกรณ์นี้เป็นวัฒนธรรมแถบตะวันออกกลางมานานแล้ว ซึ่งปัจจุบันนี้จะพบในโลกตะวันออกกลางแล้วยังพบในประเทศตะวันตกด้วย ประดิษฐ์โดยชาวมัวร์ มีลักษณะเป็นขวดแก้วรูปร่างเหมือนคนโทของไทยเรา นอกจากมีตีนเชิงเพื่อให้ตั้งได้มั่นคง รินน้ำเติมลงไปในขวดครึ่งหนึ่งเอาหลอดทำด้วยเงินพันแทบสักหลาดเพื่อจุกได้สนิทสอดเข้าไปในคอขวดประมาณ 2-3 นิ้ว ที่บนยอดขวดมีถ้วยทำด้วยเงินหรือกระเบื้องเคลือบ ก้นถ้วยเจาะเป็นรู เชื่อมหลอดถ้วยนี้ที่เป็นยาเส้น โดยใช้ความร้อนจากร้อนไฟแดงจนแทรกซึมไปทั่วน้ำ มีความยาว 7-8 ฟุต


แถบตะวันออกกลางและตุรกี สามารถพบได้ในร้านอาหารและ ภัตตาคารทั่วไป ใช้สูบหลังอาหารแทนบุหรี่ บางแห่งสูบกันในแหล่งที่ใช้เป็นที่สังสรรค์ ดูรายการยอดนิยม หรือดูกีฬาระดับชาติร่วมกัน เมื่อไม่นานมานี้หลายรัฐในอเมริกาและแคนาดา ได้ห้ามการสูบในที่สาธารณะ ที่สกอตแลนด์และอังกฤษก็ห้ามเช่นกัน ในขณะเดียวกันก็เริ่มเป็นที่นิยมในบางแห่ง เช่น สเปนและรัสเซีย

วันเสาร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2556

อันตรายจาก"บารากุ"

"น.พ.หทัย ชิตานนท์" ประธานภาคีกฎหมายบุหรี่โลกและประธานสถาบันส่งเสริมสุขภาพไทย
กล่าวไว้ว่า
ยาเส้นประเภทสูบผ่านน้ำหรือฮูกาห์นั้น
มีอันตรายมากกว่าการสูบบุหรี่ตามปกติ เพราะมีสารนิโคตินและสารทาร์มากกว่าบุหรี่ทั่วไป
รวมทั้งวิธีการสูบผ่านน้ำ และการปรุงแต่งรสของยาเส้นกับผลไม้หรือกลิ่นต่าง ๆ นั้น
ทำให้ความเข้มข้นของควันจางลง ซึ่งส่งผลให้สามารถสูบได้ลึกมากขึ้น
และสูบจำนวนมากนั้นก็ถือว่าเป็นการสูบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อย่างมาก

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยเวอร์จีเนียแห่งอังกฤษ ก็ได้ทำการวิจัยออกมาแล้วว่า การสูบบารากุ 45 นาที
จะมีปริมาณฝุ่นละอองมากกว่า 36 เท่าคาร์บอนมอนอกไซด์ 15 เท่า และมีนิโคตินสูงขึ้น 70% เมื่อเทียบกับการสูบบุหรี่หนึ่งมวน
นอกจากนี้ ยังมีการพบว่าบาง ครั้งมีการใช้สารเคมีอันตรายบางตัวเพื่อให้ตัวทำความร้อนติดไฟไ ด้ง่ายขึ้นอีกด้วย 30% ของผู้ที่สูบบารากุ
มีโอกาสจะติดโรคร้ายแรงในช่องปาก ขณะที่ผู้สูบบุหรี่จะมีโอกาสเป็นโรคในช่องปาก 24% ส่วนคนที่ไม่สูบอะไรเลย 8 %
สามารถติดโรคทางช่องปากได้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีนิโคตินหรือใบยาสูบอยู่เลย แต่ก็ยังมีสารพิษตัวอื่นทำร้ายเราได้

แต่เป็นเรื่องที่น่าแปลกอย่างมากที่การสูบบารากุนั้นไม่ใช่เรื่ องที่ผิดกฎหมาย ทั้ง ๆ ที่โทษของการสูบบารากุนั้นมีมากกว่าการสูบบุหรี่ทั่วไปหลายเท่า
ซึ่ง นายอมรชัย ไตรคุณากรวงศ์ นักวิทยาศาสตร์ ของกองตรวจและพิสูจน์ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) กล่าวว่า
จากที่เคยมีเจ้าหน้าที่นำชิ้นส่วนบารากุมาให้ตรวจพิสูจน์นั้น มีลักษณะคล้ายสมุนไพร จากการตรวจสอบพบว่าในบารากุนั้นมีส่วนผสมของสารนิโคตินคล้ายกับ ยาสูบ
และยังพบสารคูมารีนที่เป็นผลิตภัณฑ์ทางธรรมชาติที่ทำให้เกิดกลิ ่นหอม พร้อมกับกากผลไม้ต่าง ๆ จำนวนหนึ่ง และจากองค์ประกอบที่ตรวจพบนี้
 ก็ไม่ได้มีการระบุในพระราชบัญญัติใด ๆ เลยว่า บารากุเป็นสิ่งผิดกฎหมาย เพราะสิ่งที่พิสูจน์ไปนั้นไม่มีสารเสพติดใด ๆ ผสมอยู่

อย่าง ไรก็ตาม การที่พบสารนิโคตินในบารากุ ก็น่าจะสันนิษฐานได้ว่า การสูบบารากุอาจจะทำให้เกิดอาการติดยาได้ ซึ่งมีผลไม่ต่างอะไรกับยาเสพติดเลย

แต่ด้วยการที่มันไม่เป็นของผิดกฎหมาย ทำให้การสูบบารากุในหมู่วัยรุ่นได้ความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งน่าเป็นห่วงว่าการสูบบารากุในวัยรุ่นนั้นจะแพร่หลายออกไปใน วงกว้าง
 และด้วยความเข้าใจผิดของกลุ่มวัยรุ่นที่มองว่าการสูบบารา กุให้โทษน้อยกว่าการสูบบุหรี่ทั่วไปหลายเท่า ก็น่าเป็นห่วงว่าการสูบบารากุจะกลายมาเป็นวัฒนธรรมที่ผิดของหมู ่วัยรุ่น
ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด

ถึง แม้ว่าบารากุจะเป็นแค่วิธีการหรือเครื่องมือในการสูบ แต่ถ้าตัวยาที่ใช้สูบนั้น เปลี่ยนไปเป็นยาเสพติดให้โทษชนิดอื่น ๆ ก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะส่งผลเสียต่อกลุ่มวัยรุ่นมากมายขนาดไหน
สิ่งที่น่ากลัวของการสูบบารากุในประเทศไทย นั้น ไม่ใช่การสูบบารากุ แต่เป็นผู้สูบบารากุ ที่จะเห็นได้ว่าเป็นกลุ่มวัยรุ่นและมีแนวโน้มว่าจะเป็นวัยเด็กล งเรื่อย ๆ

ทั้ง ไม่ผิดกฎหมาย ปลอดภัยกว่าและหาซื้อได้ง่าย สามข้อนี้ก็สามารถจูงใจวัยรุ่นให้ทดลองเสพบารากุได้แล้ว ก็ต้องมาดูกันต่อไปว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะเห็นว่ามันกำลังจะก ลายเป็นปัญหาใหญ่
หรือจะมองผ่านไปแบบเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ปล่อยให้ปัญหาคาราคาซังจนไม่อาจรับมือได้ ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของท่านเหล่านั้นที่จะดำเนินการเช่นไร